วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กิจกรรม Home Exam ท้ายหน่วยการเรียนรู้ (งานคู่)

กิจกรรม Home Exam ท้ายหน่วยการเรียนรู้

1.  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบกี่ศึกษาได้กี่ประเภท  อะไรบ้าง  จงอธิบาย
                ตอบ       ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบกี่ศึกษาได้  ประเภท  ได้แก่  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบ  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ  และศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย  ซึ่งมีรายละเอียด  ดังนี้
                ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบ  คือ  หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน
                ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ  คือ  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพ, ศูนย์การเรียน เป็นต้น

                ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย  คือ  ศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต  เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น

2.  ศูนย์ทรัพยากรแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร  จงอธิบาย
                ตอบ       ศูนย์ทรัพยากรแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันทั้งสถานที่ตั้งและกระบวนการในการจัดการศูนย์ทรัพยากร  เป้าหมายและจุดมุ่งหมายในการนำเสนอไปยังกลุ่มเป้าหมายนั่นย่อมมีความแตกต่างกัน  โดยมีรายละเอียดดังนี้  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบนั่นส่วนมากจัดตั้งอยู่ในสถานศึกษาโดยเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอน  ส่วนศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบมีเป้าหมายให้บริการกับผู้เรียนให้ได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน  ทักษะในการประกอบอาชีพและความรู้พื้นฐานในการดำรงชีวิต  และศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  แหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้  ทักษะ  ความบันเทิง  และพัฒนาคุณภาพชีวิต  โดยให้กลุ่มเป้าหมายนั้นเลือกที่จะศึกษาได้ตามอัธยาศัย
  
3. ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง
                ตอบ       ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาในระบบ  ดังนี้
1.  ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา


                วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
1.  ส่งเสริมงานด้านการเรียนการสอนของอาจารย์ นิสิต และบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
2. เป็นแหล่งสารนิเทศด้านการเรียนการสอนสำหรับบุคลากรของคณะศึกษาศาสตร์
3. พัฒนาและบริการวิชาการแก่บุคลากรภายในชุมชน
ที่ตั้ง       มหาวิทยาลัยบูรพา
                กลุ่มเป้าหมาย  นิสิตและบุคลากรคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา
                อ้างอิง     http://www.edu.buu.ac.th/lrc/index2.html
2.  สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา

วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
เป็นหน่วยงานส่งเสริมวิชาการของมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการ สารสนเทศ
เพื่อการศึกษา ค้นคว้า และวิจัย
ที่ตั้ง       มหาวิทยาลัยบูรพา
                กลุ่มเป้าหมาย  นิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา
                อ้างอิง  http://www.lib.buu.ac.th/
3.  ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
                                เป็นหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนานวัตกรรมสื่อสนับสนุนการเรียนการสอน พัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการฝึกประสบการณ์ชั้นสูงสำหรับนักศึกษา และผลิตสื่อประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยในทุกรูปแบบ โดยยึดหลักรวมบริการประสานภารกิจ
                ที่ตั้ง       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000            
กลุ่มเป้าหมาย  นิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
อ้างอิง  http://ceit.sut.ac.th/

                                 ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษานอกระบบ  ดังนี้
1.  ศูนย์ฝึกอาชีพเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ครบ 36 พรรษา

วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
                เพื่อให้บริการฝึกอาชีพสาขาต่าง ๆ แก่ประชาชนที่มีฐานะขาดแคลนด้อยโอกาสทางสังคม และไม่มีทุนทรัพย์ที่จะศึกษาต่อ ให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพ และนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเองและครอบครัว
                เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนมีคุณภาพทั้งด้านร่างกายจิตใจ และปัญญา ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
                เพื่อป้องกันปัญหาการใช้แรงงานเด็กในทางที่ผิดกฎหมาย และเสื่อมเสีย ศิลธรรม ปัญหาการว่างงาน และปัญหาสังคมอื่นๆ
                เพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ในชนบท อันเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ในการพัฒนาประเทศ
                ที่ตั้ง        เลขที่ 104 ม.3 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150
                กลุ่มเป้าหมาย       เยาวชนและประชาชน
                อ้างอิง    http://www.svtc.go.th/th/

2.  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร 1

                วิสัยทัศน์
สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน เป็นองค์กรหลักในการจัดการกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้  และการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้รูปแบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
นโยบาย
 - เร่งรัด จัด และพัฒนาการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในด้านการศึกษาพื้นฐานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ
   การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
 - จัด ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิด กระบวนการเรียนรู้ในชุมชนรวมทั้งพัฒนา แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการให้บริการทางวิชาการเพื่อเติม
   ปัญญาให้สังคม
 - เร่งรัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาและระบบการรับรองมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
 - เร่งพัฒนาระบบการบริหารจัดการตามแนวการปฏิรูประบบราชการ และการปฏิรูปการศึกษา
ที่ตั้ง        เลขที่  161/10 ซ.อรุณอมรินทร์  15 (ซ.วัดพระยาทำเดิม)  ถ.อรุณอมรินทร์  แขวงบ้านช่างหล่อ  เขตบางกอกน้อย  กรุงเทพฯ  10700
กลุ่มเป้าหมาย  เยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา  ผู้ต้องการหาความรู้เพิ่มเติม  และผู้พิการ
อ้างอิง    http://www.korsornor1.com/

3.  สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 3 (จังหวัดชลบุรี)

                ภารกิจของสถาบันฯ
                1. ภารกิจด้านการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน
                2. ภารกิจด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน
                3. การแข่งขันฝีมือแรงงาน
                4. ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน
                ที่ตั้ง        145  ม.1  ต.หนองไม้แดง  อ.เมือง  จ.ชลบุรี  20000
                กลุ่มเป้าหมาย       กลุ่มผู้ใช้แรงงาน
                อ้าอิง      http://www.tabunchon.com/

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย  ดังนี้
1.  พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย

                เป็นพิพิธภัณฑ์ ที่จัดแสดง หุ่นขี้ผึ้ง ที่หล่อจาก ไฟเบอร์กลาส แห่งแรกของประเทศไทย เกิดจากแรงดลใจของ ผู้สร้างสรรค์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งนำโดย อ.ดวงแก้ว พิทยากรศิลป์ ทำการศึกษาขี้ผึ้งยุคใหม่จากไฟเบอร์กลาส ซึ่งค้นคว้าทดลองเป็นเวลานานกว่า 10 ปี จึงประสบความสำเร็จ  สามารถสร้างหุ่นมีลักษณะเหมือนคนจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผิว ดวงตา แขน เส้นผม  ที่มีความคงทน ประณีต งดงาม เหมือนคนจริงที่สุด และมีวัตถุประสงค์ ในอันที่จะส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ไว้ซึ่ง ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของไทย อันจะเป็นประโยชน์ ในการศึกษาค้นคว้าของเยาวชนสืบไป
                ที่ตั้ง        43/2 หมู่ 1 ถนนบรมราชชนนี (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) กม.31  ต.ขุนแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม 73120
                กลุ่มเป้าหมาย       เยาวชนและประชาชนทั่วไป
อ้างอิง    http://www.tlcthai.com/travel/9114

2.  สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล – มหาวิทยาลัยบูรพา

                วัตถุประสงค์       
                               1. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล
                          2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้   แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการ  และการอนุรักษ์ทรัพยากรตลอดจนสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทั้งภายในและต่างประเทศ
                          3. เพื่อเป็นองค์กรที่มีระบบบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ
                ที่ตั้ง        169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
                กลุ่มเป้าหมาย       นักเรียน  นักศึกษา  เยาวชนและประชาชนทั่วไป
                อ้างอิง    www.bims.buu.ac.th/

3.  พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย              

                วัตถุประสงค์
                ตั้งแต่ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีเอกสารสำคัญ และเครื่องมือเครื่องใช้จำนวนมาก อันบ่งบอกถึง วิวัฒนาการแห่งความเจริญก้าวหน้า ในระบบการเงินการธนาคารของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็น ภาพในอดีตได้อย่างชัดเจน
และด้วยตระหนักถึง คุณค่าของความรู้ อันสืบเนื่องมาจาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของระบบการเงินการธนาคาร ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่า และเป็นของหายากในปัจจุบัน ธนาคารจึงได้จัดสร้าง พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ในการจัดแสดง สิ่งของล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ ด้านการเงินการธนาคารของชาติ สำหรับเป็นแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการ อันเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง ซึ่งสามารถใช้เป็นที่ค้นคว้าเพิ่มต่อไปได้
ธนาคารได้ทำพิธีเปิด พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยแห่งนี้ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2539 ณ บริเวณชั้น 2 อาคารพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย และในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ดำเนินการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเยี่ยมชมอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550
                ที่ตั้ง        เลขที่ 9 ถนนรัชดาภิเษก จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
                กลุ่มเป้าหมาย       เยาวชนและประชาชนทั่วไป
                อ้างอิง    http://www.thaibankmuseum.or.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น