วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 7

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่  5 
เรื่อง  การบริหารงานบุคคล ประจำศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

1. อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญๆ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
                1. การเลือก  จัดหา  การลงทะเบียน  ทำบัตรรายการ  การบริการการใช้  ตลอดจนเก็บบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนต่างๆ
2. การผลิตสื่อการสอน  เช่น  ผลิตวัสดุกราฟิก  การบันทึกเสียง  ทำรายการวิทยุและโทรทัศน์
3. จัดกิจกรรมทางวิชาการ  เช่น  การฝึกอบรมครูประจำการ  การวิจัย  การจัดนิทรรศการ  ตลอดจนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
4. การบริหาร  เช่น  การจัดบุคลากร  การนิเทศ  การบันทึกรายการ  การติดต่อประสานงานและการทางบประมาณ เป็นต้น
5. การประเมินกิจกรรมต่างๆ

2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง
                1. ด้านบริหาร
                                โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทา การจัดดำเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน การทำงบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงาน เพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
                2. ด้านการบริการ
                                เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นำโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย เช่น บริการด้านการจัดหาสื่อ บริการด้านการใช้สื่อ ด้านการบำรุงรักษา ด้านการให้คำปรึกษา ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการกำหนดภารกิจด้านบริการควรสะท้อนปรัชญาที่ยึดความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก
                3. ด้านวิชาการ
                                ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาและเผยแพร่ผลงาน สร้างวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อ จัดการฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ การประเมินคุณภาพสื่อ การประเมินการบริการ เป็นต้น
                4. ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน
                                ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเนื้อหาแต่ละวิชา ตามความจำเป็นให้เพียงพอและยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือแก่ครูอาจารย์ในด้านต่างๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
                5. ด้านกิจกรรมอื่น
                                มีบทบาทหน้าที่ประชาสัมพันธ์สถาบันต่อชุมชนจัดนิทรรศการหรือจัดการแสดงความก้าวหน้าต่างๆ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีกิจกรรมเพื่อให้ความรู้แก่สังคมและจัดแสดงสาธิตนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้กับผู้สนใจ การจัดกิจกรรมลักษณะนี้ถือว่าเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างหนึ่ง
               
3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทที่สำคัญได้กี่ประเภท
ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. บุคลากรทางวิชาชีพ (Professional Staff) ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางที่อาจเรียกว่านักวิชาการการโสตทัศนศึกษาก็ได้ส่วนใหญ่บุคลากรกลุ่มนี้จะทาหน้าที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหารอำนวยการประสานเกี่ยวกับสื่อ และอำนวยการให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บุคลากรทางวิชาชีพสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น
                1.1 บุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ (Printed and Non-Printed Specialization) จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสื่อการสอนง่ายๆที่เป็นวัสดุตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์
1.2 บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านสิ่งพิมพ์และโสตทัศนูปกรณ์ (Printed and Audiovisual Aids)
1.3 บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านเฉพาะหน้าที่ (Functional Specialization) เช่น
ด้านการออกแบบ
- ด้านการพัฒนาหลักสูตร
- ด้านการวิจัย
- ด้านการเลือกจัดการและประเมินสื่อ
ฯลฯ
1.4 บุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา (Subject Specialization) บุคลากรด้านนี้จะมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสื่อในสาขาวิชาต่างๆ
1.5 บุคลากรที่เชี่ยวชาญเรื่องสื่อเฉพาะระดับชั้น (Level Specialization ) บุคลากรด้านนี้จะมีความเชี่ยวชาญการใช้สื่อในระดับการศึกษาต่างๆ
1.6 บุคลากรที่เชี่ยวชาญเรื่องสื่อเฉพาะหน่วยงาน (Unit-Type Specialization)
                2 บุคลากรกึ่งวิชาชีพ (Paraprofessional Staff) บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิคหรือด้านบริการ บุคลากรกึ่งวิชาชีพ เช่น
2.1 พนักงานเทคนิค (Media Techician) บางทีเรียกว่า เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา เจ้าหน้าที่ ซึ่งจะมีหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาและให้บริการ
2.2 พนักงานด้านกราฟิกหรือช่างศิลป์ โดยจะปฏิบัติหน้าที่งานด้านกราฟิกเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
2.3 พนักงานด้านภาพนิ่ง หรือช่างภาพ จะปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการถ่ายภาพเพื่อผลิตสื่อประเภทต่างๆ ตลาดจนงานทั่วไป
2.4 พนักงานช่างเทคนิค จะปฏิบัติหน้าที่เป็นช่างเทคนิค ซ่อมแซม ดูแลเครื่องมือ/อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2.5 พนักงานด้านวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
                3 บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Non-professional Staff) บุคลากรประเภทนี้ทำหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งจะมีคุณวุฒิหลากหลายจะใช้ความรู้ความชำนาญเฉพาะในหน้าที่ของตน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจำนวนบุคคลในแต่ละประเภทจะมีมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับนโยบาย ขนาดหรือปริมาณของงาน ขอบเขตของการให้บริการ ลักษณะของระบบงานบริการ จำนวนผู้ใช้บริการ และงบประมาณของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละแห่งเป็นสำคัญ

4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร จงอธิบาย
                ขั้นตอนที่ 1
เป็นขั้นการสำรวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสำรวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา ได้แก่
1. การสำรวจสื่อวัสดุ (Materials) การสำรวจสื่อวัสดุมีรายการที่ต้องการทราบ คือ
ชนิดของวัสดุ
ชื่อเรื่อง
แหล่งที่เก็บ (Location)
แหล่งที่ได้มา
สภาพการใช้งานปัจจุบัน
2. การสำรวจเครื่องมือ (Equipments)
ชนิดของเครื่องมือ
แบบ/รุ่น
แหล่งที่เก็บ
แหล่งที่ได้มา
- จำนวน
สภาพการใช้งานปัจจุบัน
                ขั้นตอนที่ 2
การสำรวจสถานที่  เป็นขั้นตอนการสำรวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทากิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง
 ขั้นตอนที่ 3
การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนำข้อมูลที่ได้ไปดำเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นก่อนการจัดหาหรือจัดซื้อสื่อมาไว้บริการ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรวจและศึกษาความต้องการของผู้ใช้ก่อนเสมอ การสำรวจความต้องการใช้สื่อในการเรียนการสอนสามารถทำได้หลายลักษณะ ได้แก่
1. การสัมภาษณ์ ซักถามเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อย
2. การสังเกต เป็นวิธีหนึ่งที่ผู้ต้องการข้อมูลสามารถนามาใช้เพื่อเก็บข้อมูลโดยดูจากพฤติกรรมการใช้สื่อที่มีมาแต่เดิม
3. การใช้แบบสอบถาม เป็นการสำรวจที่ได้รายละเอียดมากกว่าแบบอื่นๆ
ขั้นตอนที่ 4
เป็นขั้นการจัดหา โดยนำข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทำเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป ในการจัดซื้อผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาตามลำดับความสำคัญของผู้ใช้โดยจัดซื้อเฉพาะสื่อที่มีคุณภาพ ประหยัดงบประมาณ ก่อนจัดซื้อสื่ออะไรมาไว้บริการจะต้องมีการประเมินค่าสื่อนั้น โดยคณะกรรมการประเมินค่าสื่อเพื่อพิจารณาว่าสื่อหรือวัสดุอุปกรณ์มีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงไร มีข้อดีและข้อจำกัดอย่างไรเพื่อให้การจัดซื้อจัดหาสื่อมาไว้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

5. อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สำคัญ อะไรบ้าง
ข้อควรปฏิบัติสำหรับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในการจัดซื้อ
1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ควรมีแหล่งที่จำหน่ายโสตทัศนูปกรณ์แต่ละประเภทไว้สำหรับเป็นข้อมูลในการจัดซื้อ
2. ผู้ทำหน้าที่ในการจัดหาสื่อ ควรไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือจากแหล่งร้านค้า(ห้างร้านหรือบริษัท) เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสื่อและจะได้มีโอกาสศึกษาจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์นั้นโดยตรง
3. ควรสำรวจราคาของสื่อแต่ละประเภทเป็นระยะๆเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณ
                ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อสื่อการศึกษาสามารถกระทาได้ 5 วิธี  ดังนี้
                                1. วิธีตกลงราคา
2. วิธีสอบราคา
3. วิธีประกวดราคา
4. วิธีพิเศษ
5. วิธีกรณีพิเศษ
วิธีตกลงราคา ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน 50,000 บาท มีวิธีการคือ ให้เจ้าหน้าที่พัสดุต่อรองและตกลงราคากับผู้ขาย แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการ
วิธีสอบราคา ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า 20,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท การซื้อโดยวิธีสอบราคาให้ดาเนินการ ดังนี้
1. หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งคณะกรรมการการเปิดซองสอบราคาและคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
2. ก่อนวันเปิดซองไม่น้อยกว่า 7 วัน ให้หัวหน้าส่วนราชการปิดใบแจ้งสอบราคาไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการนั้น กับให้ส่งใบแจ้งสอบราคา ดังกล่าว ไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงหรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เสนอราคาเป็นหนังสือผนึกซองยื่นต่อเจ้าหน้าที่พัสดุโดยตรง หรือโดยผู้แทนซึ่งได้รับมอบหมายหนังสือภายในวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
3. ให้เจ้าหน้าที่พัสดุรับซองใบเสนอราคาที่ยื่นมาทุกรายโดยไม่เปิดซอง เมื่อครบกำหนดแล้วให้ส่งมอบซองใบเสนอราคาพร้อมทั้งรายงานผลการรับซองต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา เพื่อดาเนินการต่อไป เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองแล้ว ห้ามรับซองใบเสนอราคาจากผู้หนึ่งผู้ใดอีก
4. คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา เปิดซองใบเสนอราคาโดยเปิดเผยต่อหน้าผู้ยื่นซองหรือผู้แทนและตรวจ
                วิธีประกวดราคา ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า 1,000,000 บาท มี วิธีดาเนินการดังนี้
1. หัวหน้าส่วนราชการแต่งตั้งกรรมการ ดังนี้
1.1 คณะกรรมการรับซองประกวดราคาและเปิดซอง
1.2 คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา
1.3 คณะกรรมการตรวจรับวัสดุ
2. ให้ปิดประกาศหรือใบแจ้งประกวดราคาโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการของส่วนราชการนั้นและประกาศทางวิทยุกระจายเสียงหรือลงประกาศในหนังสือพิมพ์ของทางราชการหากเห็นควรจะส่งประกาศหรือใบแจ้งประกวดราคาดังกล่าว ไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทำงานนั้นโดยตรงหรือจะโฆษณาด้วยวิธีอื่นอีกก็ได้ การดำเนินการจะต้องกระทำก่อนวันรับซองประกวดราคาไม่ร้อยกว่า 15 วัน
3. การรับซองประกวดราคากระทำได้ 2 วิธี คือ
จัดตู้ทึบหรือหีบทึบมีช่องสำหรับสอดซองประกวดราคาไว้ ณ ที่ทำการของผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้าง
ตั้งกรรมการรับซองประกวดราคา
4. เมื่อพ้นกำหนดเวลารับซองประกวดราคาแล้ว ให้ส่งมอบตู้หรือหีบบรรจุซองประกวดราคาและเอกสารหลักฐานต่างๆพร้อมด้วยบันทึกรายงานรับซองประกวดราคาต่อคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคา
5. คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคา โดยเปิดซองประกวดราคาอย่างเปิดเผยต่อหน้าผู้เข้าประกวดราคาหรือผู้แทน
6. คณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตาล็อค หรือรูปแบบและรายละเอียดแล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขใบแจ้งประกวดราคา
7. พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อทางราชการและเสนอราคาต่ำสุด
วิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกินกว่า 50,000 บาท ให้กระทาได้เฉพาะกรณีใดดังต่อไปนี้
1. เป็นพัสดุขายทอดตลาด
2. เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด โดยส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นองค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจ
3. เป็นพัสดุที่ต้องซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจเสียหายแก่ราชการ
4. เป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ
5. เป็นพัสดุที่ต้องซื้อโดยตรงต่างประเทศ หรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ
6. เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะหรือผู้แทนจำหน่ายโดยตรง
7. เป็นพัสดุที่ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
8. เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและ/หรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจาเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
วิธีกรณีพิเศษ ได้แก่การซื้อในกรณีต่อไปนี้
1. การซื้อจากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นผู้ทาหรือผลิตวัสดุนั้นๆ ขึ้นเอง และนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อหรือจ้างได้เป็นการทั่วไปหรือเป็นการเฉพาะคราว
2. การซื้อทีมีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ต้องซื้อจากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ
การส่งซื้อโดยวิธีกรณีพิเศษให้หัวหน้าส่วนราชการสั่งซื้อจากส่วนราชการหน่วยงานอื่นได้โดยตรง เว้นแต่การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาไม่เกิน 20,000 บาท ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการ


**************************************************************************************

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ 
เรื่อง  ประเภท และหลักการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้

1. ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ใด และมีชื่อเรียกว่าอะไร
                ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตีพิมพ์
                มีชื่อเรียกว่า   สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง   คือ  หนังสือพิมพ์รายวัน

2. ถ้าต้องการคัดเลือกสื่อวีดิทัศน์มาให้บริการนิสิตจะมีหลักการอย่างไรในการคัดเลือกสื่อดังกล่าว
1.  กำหนดเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดเลือกทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทให้ชัดเจน
              2.  ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ
              3.  เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ นาเสนอเนื้อหาได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
              4.  เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์
              5.  สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ สะดวกในการใช้ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
             6.  สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
7.  สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ราคาไม่แพงเกินไป
8.  สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน

3. การจัดซื้อทรัพยาการเรียนรู้มีกี่วิธีการ อะไรบ้าง
                การจัดซื้อทรัพยาการเรียนรู้มี  4  วิธีการ
                1.  สั่งซื้อโดยตรง : ในประเทศ / ต่างประเทศ
   2.  สั่งซื้อผ่านร้าน/ตัวแทนจาหน่าย : ในประเทศ / ต่างประเทศ
   3.  เว็บไซต์ : ในประเทศ / ต่างประเทศ
             4.  จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น